Socal History
  • หน้าหลัก
  • บุคคล
  • หน้าหลัก
  • บุคคล

Socal History

เว็บรวมประวัติต่างๆ แบบฉบับภาษาไทย

บุคคลประวัตศาสตร์ไทย

พระราชกรณียกิจ ของ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

written by socalhistory 23/05/2018
พระราชกรณียกิจ ของ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

พลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย

พระกรณียกิจ

ด้านราชการ
พระองค์ทรงเป็นเสนาบดีหลายกระทรวงทั้งกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวัง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร และพระองค์ยังได้รับการแต่งให้ให้ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการพระราชวงศ์ มีหน้าที่สนองพระเดชพระคุณในพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชวงศ์พระองค์ใดที่มีกิจที่ไม่ต้องกราบบังคมทูลพระกรุณาก็ให้ติดต่อกราบบังคมทูลต่อพระองค์แทนนอกจากนี้ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จยังต่างประเทศ พระองค์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ พระองค์จึงพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ด้านศิลปกรรม
งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือ แบบพระเมรุ โดยตรัสว่า “เป็นงานที่ทำขึ้นใช้ชั่วคราวแล้วรื้อทิ้งไป เป็นโอกาสได้ทดลองใช้ปัญญาความคิดแผลงได้เต็มที่ จะผิดพลาดไปบ้างก็ไม่สู้กระไร ระวังเพียงอย่างเดียวคือเรื่องทุนเท่านั้น”

ด้านสถาปัตยกรรม

พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อแรกสร้าง

อาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442
การออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน รัตนโกสินทรศก 121(พ.ศ. 2445)หรือ ร.ศ. 121
งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่พระองค์ทรงพิถีพิถันอย่างมาก เพราะตรัสว่า “ต้องระวังเพราะสร้างขึ้นก็เพื่อความพอใจ ความเพลิดเพลินตา ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่ออยากจะรื้อทิ้ง ทุนรอนที่เสียไปก็ใช่จะเอาคืนมาได้ ผลที่สุดก็ต้องทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์สำหรับขายความอาย”

ด้านภาพจิตรกรรม
ภาพเขียน
ภาพเขียนสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนรถพระอาทิตย์ที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน)
ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม
ภาพแบบพัดต่างๆ
ฯลฯ

งานออกแบบ
ออกแบบตรากระทรวงต่างๆ, อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1, องค์พระธรณีบีบมวยผมที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และทรงออกแบบพระเมรุมาศ และพระเมรุของพระบรมวงศ์หลายพระองค์

ด้านวรรณกรรม

“พระสุริโยทัยขาดคอช้าง” จิตรกรรมประกอบโคลงพระราชพงศาวดาร ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น โคลงประกอบภาพจิตรกรรมภาพพระราชพงศาวดาร, โคลงประกอบเรื่องรามเกียรติ์ ทรงพระนิพนธ์เมื่องานฉลองพระนครครบรอบร้อยปี, ลายพระหัตถ์โต้ตอบประทานบุคคลต่างๆ เช่น จดหมายเวรโต้ตอบกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลายพระหัตถ์ประทานความรู้ในลักษณะจดหมายโต้ตอบพระสารประเสริฐและพระยาอนุมานราชธน เรื่องภาษาและประเพณี ลายพระหัตถ์โต้ตอบเหล่านี้ เป็นเหมือนคลังความรู้สำหรับผู้สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าทั่วไป

ด้านดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์
ทรงสนพระทัยทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล โดยเฉพาะดนตรีไทยนั้นทรงฝึกฝนมาแต่พระเยาว์ ทรงถนัดเล่นปี่พาทย์และระนาดมากกว่าเครื่องดนตรีอื่นๆ

เพลงพระนิพนธ์
เพลงสรรเสริญพระบารมี (คำร้อง)
เพลงเขมรไทรโยค
เพลงตับ เช่น ตับแม่ศรีทรงเครื่อง ตับเรื่องขอมดำดิน

ด้านบทละคร
ทรงนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ไว้หลายเรื่อง เช่น
สังข์ทอง ตอนทิ้งพวงมาลัย ตีคลี และตอนถอดรูป
คาวี ตอนเผาพระขรรค์ ชุบตัว และตอนหึง
อิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ไหว้พระ และตอนบวงสรวง
รามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา

0 comment
0
Facebook Twitter Google + Pinterest
socalhistory

previous post
กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักเขียนชื่อดัง
next post
พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

You may also like

พระยาพิชัยดาบหัก

28/04/2018

“เจ้าผู้พิทักษ์” ผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษ “เซอร์ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์”

16/06/2018

ครูเพลงคนสำคัญ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

05/07/2018

ประธานาธิบดี ที่ถูกลอบยิง จอห์น เอฟ.เคเนดี้ (John F.Kenedy)

29/06/2018

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์กู้ชาติแห่งธนบุรี

01/05/2018

ครูและนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

14/06/2018

ศรีปราชญ์ สุดยอดกวีเอกสมัยพระนารายณ์มหาราช

29/04/2018

สุดยอดกลุ่มคนตั้งรับทัพพม่า ชาวบ้านบางระจัน

08/05/2018

กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักเขียนชื่อดัง

19/05/2018

อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) เจ้าของ

25/06/2018

Leave a Comment Cancel Reply

Recent Posts

  • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ภาษาไทย เพื่อคนไทย
  • พระเจ้าเซจงมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลีฮันกึล
  • 12 เรื่องน่ารู้ของดอกไม้เหล็กแห่งเมียนมา อย่าง ออง ซาน ซูจี
  • สตรีโลกไม่ลืม อินทิรา คานธี
  • ครูเพลงคนสำคัญ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

Recent Comments

    Archives

    • August 2018
    • July 2018
    • June 2018
    • May 2018
    • April 2018

    Categories

    • นักการเมือง
    • บุคคล
    • ประวัตศาสตร์ไทย
    • ยุโรป
    • ศิลปิน
    • เทคโนโลยี
    • แอฟริกา

    เกี่ยวกับเรา

    เกี่ยวกับเรา

    เว็บไซต์นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

    เราเป็นกลุ่มคนที่ชอบติดตามประวัติต่างๆ มาเป็นเวลานาน แล้วจึงเกิดความคิดว่า "ทำไมเราไม่ทำเว็บไซต์ขึ้นมาเองเลยล่ะ!" เพื่อรวบรวมเรื่องราวประวัติต่างๆ ไว้ในเว็บไซต์เรา เพื่อเผยแพร่ให้กับผู้คนที่สนใจจะได้หาประวัติที่อยากรู้ได้ง่ายขึ้น

    ผู้สนับสนุน

    ร่วมสนุกลุ้นรางวัลต่างๆ มากมายได้ที่ FUN88 เว็บไซต์เกมออนไลน์ที่มีประวัติยาวนานกว่า 10 ปี

    ufabet1688

    ติดตามเราอย่างใกล้ชิด

    Subscribe my Newsletter for new blog posts, tips & new photos. Let's stay updated!

    Keep in touch

    Facebook Twitter Instagram Pinterest Tumblr Email

    w88

    ประวัติอัพเดทล่าสุด

    • พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ภาษาไทย เพื่อคนไทย

      15/08/2018
    • พระเจ้าเซจงมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลีฮันกึล

      15/08/2018
    • 12 เรื่องน่ารู้ของดอกไม้เหล็กแห่งเมียนมา อย่าง ออง ซาน ซูจี

      18/07/2018
    • สตรีโลกไม่ลืม อินทิรา คานธี

      15/07/2018
    • ครูเพลงคนสำคัญ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ

      05/07/2018

    Instagram Corner

    No images found!
    Try some other hashtag or username

    @2018 Memory of Juan Rodriguez Cabrillo Designed and Developed by www.socalhistory.org


    Back To Top